Student-led community project
SRU สร้าง “วิศวกรสังคม”ต้นแบบ ช่วยชุมชน พัฒนา ประเทศ
โมเดล “วิศวกรสังคม” ตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น สร้างนักศึกษาเป็น ” วิศวกรสังคม ” เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่ควรสร้างระบบแนวคิดแบบใหม่ให้กับนักศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีแนวคิด “วิศวกรสังคม” ขึ้นมา ซึ่งคำว่าวิศวกรสังคมนั้น จะสร้างให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์เป็นระบบมีเหตุและผล สามารถลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมโยงต่อชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในการพัฒนาประเทศ
โดยมีคุณลักษณะหลัก 4 ประการ คือ
- นักศึกษาต้องมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างเหตุและผลเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย
- การนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนได้อย่างไร สามารถสื่อสารองค์ความรู้ที่เรียนไปเพื่อนำไปแก้ปัญหาให้กับชุมชนได้
- การทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถที่จะระดมกำลังไม่ว่าจะภายในท้องถิ่นหรือนอกท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นได้
- ต้องมีทักษะในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
ซึ่งนวัตกรรมที่กล่าวมานั้น จะสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เริ่มจดทะเบียนชมรมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นชมรมประเภทจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์ มีการกิจกรรมออกค่ายตามโรงเรียนต่างๆ เช่น โครงการห้องสมุดนี้พี่ให้น้อง ที่มีการปรับปรุงซ่อมแซม และสร้างห้องสมุดให้แก่โรงเรียนที่ด้อยโอกาสในทุกๆปี มีวัตถุประสงค์ชมรมเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ และบำเพ็ญประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด จนต่อมาปีใน พ.ศ. 2558 ชมรมฯ ได้รับทุนสนับและเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) กับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ
ปี พ.ศ. 2560 โครงการธนาคารขยะ ปีที่ 1 (ตอนขยะในมือท่านเราขอ)
เปิดรับแลกขยะรีไซเคิลจากนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมจัดขึ้นที่บริเวณชั้น G อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกวันพุธ เวลา 13.00 น. โดยเงินจากการขายขยะที่รับแลกได้จะเปลี่ยนเป็นสมุดรายงานและอุปกรณ์การเรียน จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้ ชมรมฯ ได้รับรางวัลระดับทองแดงในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2560
ปี พ.ศ. 2561 โครงการธนาคารขยะ ปีที่ 2 (ตอนโลกสวยด้วยมือเรา)
ยังคงเปิดรับแลกขยะรีไซเคิลจากนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมจัดขึ้นที่บริเวณชั้น G อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกวันพุธ เวลา 13.00 น. พร้อมทั้งออกจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเภทขยะ บำเพ็ญประโยชน์เก็บขยะตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ณ บ้านคลองยัน อ.คีรีรัฐนิคม
Life below water
ปริมาณขยะในท้องทะเลและแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยมีจุดมุ่งหวังเพื่อลดการรั่วไหลของขยะอินทรีย์และลดจำนวนขยะถุงพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมสวัสดิการชุมชนในเมืองชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานีทางภาคใต้ของประเทศไทย ผ่านโครงการริเริ่ม “SeaShine” ที่ทางบริษัทคาร์กิลล์ UNDP และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จะร่วมเดินหน้าพัฒนาระบบและนำนวัตกรรมการจัดการของเสียมาปรับใช้อย่างยั่งยืนในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ. 2562 โครงการธนาคารขยะ ปีที่ 3 (ตอนแลกขยะนี้เพื่อน้อง)
เปิดรับแลกขยะรีไซเคิลจากนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมจัดขึ้นที่บริเวณชั้น G อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกวันพุธ เวลา 13.00 น. โดยเงินจากการขายขยะที่รับแลกได้จะนำไปซื้ออุปกรณ์การเรียนเพื่อบริจาคให้นักเรียนในโรงเรียนใกล้บริเวณมหาวิทยาลัย จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้ ชมรมฯ ได้รับรางวัลระดับเงินในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2562
ปี พ.ศ. 2563 โครงการธนาคารขยะ ปีที่ 4 (ตอนสถานีถุงผ้าและร้านสะดวกปั๊ม)
เปิดรับแลกขยะรีไซเคิลจากนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมจัดขึ้นที่บริเวณกองพัฒนานักศึกษา (อาคารชั่วคราวคณะครุศาสตร์) โดยทางชมรมจัดกิจกรรมการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ในครัวเรือนหรือขยะต้นทางอย่างถูกวิธี และรณรงค์การลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวโดยการจัดตั้งเสาแขวนถุงผ้าแบบเวียนใช้แทนการใช้ถุงพลาสติก และจัดโต๊ะสถานีปั๊มน้ำยา โดยการนำขวดบรรจุภัณฑ์เดิมมาเติมน้ำยาใหม่ เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รวมทั้งจัดทำเตาเผาขยะไร้ควัน ณ วัดโมกขธรรมาราม จำนวน 3 เตา เพื่อเผาขยะประเภททั่วไปที่ไม่สามารถกำจัดได้ จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้ ชมรมฯ ได้รับรางวัลระดับทองในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563
ปี พ.ศ. 2564 โครงการธนาคารขยะ ปีที่ 5 (ตอนสะพานบุญต่อชีวิตด้วยขยะ ปีที่ 1)
หลังจากเปิดรับแลกขยะรีไซเคิลจากนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจภายในมหาวิทยาลัย กิจกรรมจัดขึ้นที่บริเวณชั้น 2 อาคารกองพัฒนานักศึกษา ได้ประมาณ 2 เดือน จนเกิดการระบาดของเชื้อโควิด 19 หนักขึ้นจนมหาวิทยาลัยประกาศจัดการเรียนการสอนแบบแนไลน์แทน ทำให้ชมรมจัดทำคลิปการคัดแยกขยะเป็นตัวอย่างให้สมาชิกในชมรมฝึกการคัดแยกขยะในครัวเรือนหรือที่ต้นทาง เพื่อส่งบริจาคยังโครงการต่างๆ เช่น โครงการแยกขวดช่วยหมอ โครงการวน โครงการกรีนโรด เป็นต้น รวมทั้งนำขยะที่คัดแยกได้ขายเพื่อนำเงิน 9 บาท บริจาคเพื่อซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์บริจาคให้โรงเรียนด้อยโอกาส จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้ ชมรมฯ ได้รับรางวัลระดับเงินในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2564 (อยู่ระหว่างการลงประเมินโครงการภายในมหาวิทยาลัย)
ปี พ.ศ. 2565 โครงการธนาคารขยะ ปีที่ 6 (ตอนสะพานบุญต่อชีวิตด้วยขยะ ปีที่ 2)
ชมรมจัดประกวดทำคลิปนวัตกรรมขยะ เพื่อชิงเงินรางวัล จัดโครงการปฏิบัติการให้ความรู้การจัดการขยะและทำเตาเผาขยะไร้ควัน จำนวน 4 เตา ณ วัดโมกขธรรมาราม และวัดซอยสิบ เพื่อเป็นการลดปัญหาควันดำจากการเผาขยะในชุมชน อยู่ระหว่างการนำเสนอโครงการประจำปี 2565
ปี พ.ศ. 2566 เป็นไปใช้ชื่อ “ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” จัดทำโครงการ SRU ขยะเป็นศูนย์
(กิจกรรมขยะรีไซเคิลลุ้นรับโชคกับ Trash lucky) ดำเนินการจัดกิจกรรมขยะเป็นศูนย์โครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ: สถานีที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG Station)
ปัจจุบันชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมยังคงมุ่งมั่นเพื่อส่งต่อจิตสำนึก เป็นผู้นำและแบบอย่างในการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมภายในมหาวิทยาลัยและและแบ่งปันไปสู่สังคมรอบนอกมหาวิทยาลัย
โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตำบลขุนทะเล
พื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ต่อเนื่องกันเพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่พื้นที่โครงการ และกิจกรรมบริการวิชาการในพื้นที่โดยมีนักศึกษาเป็นผู้นำและได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลขุนทะเล เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และกลุ่มประมงพื้นบ้านบึงขุนทะเลให้ใช้สำหรับการสร้างศูนย์การเรียนรู้ มีการปรับพื้นที่สร้างสระบัวแดงและบ่อปลาซึ่งการสร้างสระบัวแดงสืบเนื่องจากในอดีตพื้นที่บึงขุนทะเล มีบัวแดงเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยการขุดบึงขุนทะเลให้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำได้มากขึ้น จึงทำให้บัวแดงสูญพันธ์ ไปจากบึงขุนทะเล จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างสระบัวแดงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สะท้อนถึงอดีตของบึงขุนทะเล มีการนำพันธ์พืชต่าง ๆ มาปลูก เช่น รางจืด ขิง ข่า รวงผึ้ง เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเป็นแหล่งอาหารสำหรับชาวบ้าน อีกทั้งมีการร่วมมือกันระหว่างนักศึกษาและชาวบ้านกลุ่มประมงพื้นบ้านบึงขุนทะเลในการยกระดับพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีการสร้างจุด Check in และสะพาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้มาถ่ายรูปและดื่มด่ำบรรยายของบึงขุนทะเลภายใต้วิถีชีวิตของชาวประมงบึงขุนทะเล
การส่งเสริมการเพาะเห็ดตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและให้ความรู้และการลงมือปฏิบัติการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้าในครอบคลุมพื้นที่ขุนทะเล โดยโครงการดังกล่าวได้เป็น การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชาวบ้านและนักศึกษา จึงก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเพาะเห็ดนางฟ้า
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการพื้นที่ขุนทะเล กลุ่มผู้นำนักศึกษา นักวิจัย ชาวบ้าน ได้มีการจัดทำข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับบริบทของบึงขุนทะเล ทั้งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ วิถีการดำเนินชีวิต ประวัติความเป็นของชาวบ้านบึงขุนทะเล ทรัพยากรที่มีในบึงขุนทะเลและบริเวณรอบบึงขุนทะเล โดยข้อมูลการเผยแพร่ดังกล่าวได้ทำในรูปแบบป้ายโรลอัพ (Roll Up) เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและสามารถนำไปเผยแพร่ความรู้ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้
การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนรอบบึงขุนทะเลเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการยกระดับศักยภาพของพื้นที่โดยใช้ฐานทรัพยากรจากชุมชน มีการวิเคราะห์ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่เพื่อวางแผนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของพื้นที่ บึงขุนทะเล ตลอดจนมีการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชาวบ้าน นักศึกษา และนักวิชาการในการนำทรัพยากรจากบึงขุนทะเลมายกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ กะปิกุ้งน้ำจืด ปลาแดดเดียว
โครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด สุราษฎร์ธานีได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชาวบ้าน นักศึกษา นักวิชาการ ภาครัฐและภาคเอกชน อันนำมาสู่การยกระดับศักยภาพของพื้นที่โดยใช้ฐานจากทรัพยากรในพื้นที่เป็นสารตั้งต้นในการขับเคลื่อนกิจกรรมและโครงการ
พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยโครงการนี้นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ภายใต้รายวิชาจริยธรรมสำหรับนักบริหาร เสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมืองเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลงพื้นที่โรงเรียนวัดพุมเรียงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองในสังคมระบอบประชาธิปไตย และการเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองเพื่อการเป็นอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านรูปแบบการบรรยายและให้ความรู้ด้วยหนังตะลุง โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่ตำบลพุมเรียง