ภาวะโลกร้อนเป็นหนึ่งในความกังวลเร่งด่วนที่สุดที่มนุษยชาติกําลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน กิจกรรมและการกระทำต่างๆ ที่เกิดจากมนุษย์หลายๆ อย่าง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากไม่ได้รับการแก้ไขผลกระทบเหล่านี้ย่อมดำเนินต่อไปจนส่งผลต่อคนรุ่นหลัง

ในปี 2021 ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามในสนธิสัญญาปารีส United Nations Climate Conference (COP26) ณ กรุงกลาสโกล ประเทศสก๊อตแลนด์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ร่วมกับหลายๆ ประเทศเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนโดยให้ตั้งเป้าในการดำเนินการอย่างแน่วแน่ว่าประเทศไทยจะก้าวไปถึงความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (SRU) เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและมีนโยบายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และนโยบายเพื่อร่วมขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ (United Nations) ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13 Climate action) คือการร่วมเป็นส่วนหนี่งในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนและ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ อาคารประหยัดพลังงาน การเริ่มนำรถไฟฟ้ามาใช้ให้บริการภายในมหาวิทยาลัย การบริหารจัดการขยะ เป็นต้น รวมทั้งเข้าร่วม The Alliance for Sustainability Leadership in Education (EAUC) เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาเพื่อความยั่งยืน

เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจะถูกบูรณาการไปกับแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ได้แก่

  1. การพัฒนาท้องถิ่นและบริการวิชาการ
  2. การศึกษาโดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
  3. การวิจัยและพัฒนา
  4. การบริหารจัดการ

ความเป็นกลางทางคาร์บอนจะถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของมหาวิทยาลัยและวัฒนธรรมขององค์กร และสร้างความตระหนักให้ทุกคนมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งสามารถลดความรุนแรงลงได้หากทุกคนช่วยกัน