ผลักดันการใช้พลังงานทดแทน

SRU ผลักดันการใช้พลังงานทดแทนโดยการวางแผนลงทุนและ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษากับ บริษัท โซลาร์ พีพีเอ็ม จำกัด (Solar PPM) ผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อสนับสนุนพันธกิจทางด้านการจัดการ การศึกษา และการสอน ในความรู้ด้านการใช้พลังงานทดแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และมีประสิทธิภาพดียิ่งกว่าพลังงานแบบเดิม เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด

Green office

หนึ่งในนโยบายการประหยัดพลังงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานีซึ่งมีการดำเนินการอย่างจริงจัง และไม่ใช่เพียงแค่เป็นการตอบสนองนโยบาย Green office เท่านั้น แต่ยังเป็นการมุ่งสร้างจิตสำนึกให้แก่บุคลากรทุกคนให้ร่วมช่วยกันประหยัดพลังงาน โดยทุกคณะ สำนัก กอง ต่างๆ ได้ร่วมกันปฏิบัติตามแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย และมีการตรวจสอบติดตามภายใต้ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด เช่น การเปิดแอร์ 25 องศา การปิดไฟตอนพักเที่ยง การถอดปลั๊กอุปกรณ์เมื่อเลิกใช้ การติดตามตรวจสอบการปิดไฟในอาคารต่างๆ ในช่วงวันหยุด หรือหลังเวลาราชการ และนำผลการใช้ไฟฟ้าเข้ารายงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

การผลิต Biogas จากเศษอาหารสู่พลังงานสะอาด

แก๊สชีวภาพหรือไบโอแก๊ส มีองค์ประกอบหลักคือ แก๊สมีเทน เป็นพลังงานสะอาดซี่งตอบโจทย์พื้นที่บริการชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี โดยการนำของเสียมาผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้เกิดการย่อยสลายในสภาวะไม่มีอากาศโดยอาศัยจุลินทรีย์หลายชนิด นักวิจัยของ มรส.ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเป็นการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่ชุมชน นอกจากเป็นการใช้องค์ความรู้ในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการนำเศษอาหารเหลือทิ้งแล้ว ยังเป็นการช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

ถ่านอัดแท่ง เชื้อเพลิงผลิตเองสู่การยกระดับรายได้สู่ครัวเรือน

พื้นที่ในเขตชุมชนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัสดุเศษกะลามะพร้าวเหลือใช้อยู่แทบทุกครัวเรือน ซึ่งพื้นที่ชุมชนบ้านคลองเรือเป็นพื้นที่นำร่องที่ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงการการรับซื้อกะลามะพร้าวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตถ่านอัดแท่งเพื่อใช้แทนแก๊สหุงต้ม และจำหน่ายในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน รวมทั้งลดต้นทุนในการแปรรูปอาหารให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งดำเนินกิจกรรมผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปอยู่เดิมผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านอัดแท่งโดยการศึกษาผ่านเตาเผาถ่านจากชีวมวลจากในเตาเผาขนาด 200 ลิตรแบบแนวตั้ง เป็นเตาเผามีควันน้อยเหมาะแก่การเผาถ่านในพื้นที่ชุมชน ศึกษาการบดย่อยถ่าน ศึกษาวัตถุดิบและอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมในการอัดแท่ง ปริมาณกะลาที่ใช้ วัสดุตัวประสาน และนำมาศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้ เช่น ค่าความร้อน ปริมาณเถ้า และปริมาณคาร์บอนคงตัว และศึกษาปริมาณ PM10, NOx, CO2 และ CO เปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงถ่านในการหุงต้ม นอกจากนี้ยังเป็นการนำองค์ความรู้มาเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือของมะพร้าวทำให้ยกระดับรายได้สู่ครัวเรือนอีกด้วย

มรส.ผลิตผู้นำความคิดยุคใหม่ด้านพลังงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อผลิตผู้นำยุคใหม่ตาม โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

mou-institutions-produce-newgeneration-leaders-05
mou-institutions-produce-newgeneration-leaders-04
mou-institutions-produce-newgeneration-leaders-01
mou-institutions-produce-newgeneration-leaders-03
mou-institutions-produce-newgeneration-leaders-02