ขยะเป็นศูนย์

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาในระดับชุมชนและประเทศหรือแม้แต่ในระดับโลกที่ยากต่อการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังตลอดมา เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโดยความร่วมมือภายใต้โครงการ Low Carbon City แห่งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ธนาคารออมสิน และบริษัท คาร์กิลล์ ได้ลงนามความร่วมมือ ดำเนินโครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนต้นแบบ : สถานีที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่นั่งยืน (SDG Station) สร้างพื้นที่นำร่องการจัดการขยะ ตรวจสอบแหล่งกำเนิดขยะ เร่งบริหารจัดการในชุมชนท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายต้องการให้ขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) บุคลากรภายในองค์กรมีความตระหนักและปฏิบัติต่อการจัดการขยะอย่างเคร่งครัด เกิดการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ เกิดงานวิจัยจากการศึกษาเรื่องการจัดการขยะในมิติต่าง ๆ หลังจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ เร่งผลักดันพร้อมขอความร่วมมือจากนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ตลอดประชาชนทุกภาคส่วน

SRU ขยะเป็นศูนย์

กิจกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีเป้าหมายที่จะมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นการสร้างแนวปฏิบัติของนักศึกษา บุคลากร และชุมชน เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ได้ขยายผลในการบริหารจัดการขยะไปสู่ครอบครัวและชุมชน การพัฒนาระบบ การบริหารจัดเก็บและจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นการช่วยดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง เช่น สามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และนำเศษอาหารมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพไว้สำหรับต้นไม้เพื่อคืนความสมบูรณ์กลับสู่ธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อเป็นการนำไปสู่การปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัย และก่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่วางไว้ พร้อมทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้มีแนวทางการดำเนินการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติด้านการบริหารจัดการ

  1. แนวทางด้านการจัดการขยะต้นทาง
  2. แนวทางด้านการจัดการขยะกลางทาง
  3. แนวทางด้านการจัดการขยะปลายทาง และ
  4. แนวทางเป้าหมายอื่นๆ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยและชุมชนตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง

หากมหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการขยะได้ดี เป็นการช่วยเหลือชุมชนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขจัดปัญหาโลกร้อน ประหยัดงบประมาณ เพื่อคุณภาพที่ดีของนักศึกษา บุคลากร ตลอดจนชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดยมุ่งเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในมิติทรัพยากร มิติเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มิติของเสียและมลพิษ มิติมนุษย์ และสังคม เพื่อเป็นแบบอย่างให้สถาบันการศึกษาชั้นนำของภาคใต้ และมรส

โครงการ “นวัตกรรมในการพัฒนาธนาคารขยะ” เป็นโมเดลในการส่งเสริมและทดลองนวัตกรรมเพื่อสร้างธนาคารขยะ และจัดทำนโยบายการจัดการขยะในระดับองค์กรและพื้นที่ เพื่อนำ SDG ลงสู่พื้นที่ (SDG localization) โดยเริ่มจากจะช่วยลดปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชน รอบ ๆ มรภ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีปริมาณมากถึง 63 ตันต่อเดือน และเป็นปัญหาใหญ่ที่มหาวิทยาลัยและชุมชนประสบมานาน โครงการ“นวัตกรรมในการพัฒนาธนาคารขยะ” จะจัดสร้างสถานีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal Station) หรือสถานี SDG บนพื้นที่ 3 ไร่ บริเวณหลังหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ พร้อมจะมีการสอนให้ประชาชนในชุมชน ได้รู้จักคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำมาขายให้แก่สถานี SDG เพื่อนำไปรีไซเคิลต่อไป โครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะมีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่จากการขายขยะ ตลอดจนลดปริมาณขยะที่อาจถูกทิ้งลงไปในทะเล ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยและนักศึกษาจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะจากประสบการณ์จริง

การคัดแยกขยะ

How to ทิ้ง ทิ้งขยะอย่างไรให้เกิดประโยชน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม และจิตสำนึกการทิ้งขยะให้ถูกวิธีและประเภท

ถังขยะ 4 สี แยกยังไงนะ

ถังสีเขียว หมายถึง ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เศษผักและผลไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ เป็นต้น
ถังสีเหลือง หมายถึง ขยะที่เป็นที่ต้องการของร้านรับซื้อของเก่า เพราะสามารถนำไปรีไซเคิล เพื่อแปรรูปเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น พลาสติก กระดาษ เศษโลหะ เป็นต้น
ถังสีฟ้า หมายถึง ขยะที่นอกเหนือจากขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิลที่ร้านรับซื้อของเก่าไม่ต้องการ เนื่องจากไม่คุ้มค่า นำกลับมาใช้ใหม่ (ขยะกำพร้า) เช่น หลอดพลาสติก ถุงพลาสติกห่อขนม กล่องโฟม เป็นต้น
ถังสีแดง หมายถึง ขยะที่มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น แบตเตอรี่ หลอดไฟ เป็นต้น

โดยมีถังขยะแยกตามประเภท ทั้งหมด 50 จุด ทั่วมหาวิทยาลัย

ข่าวขยะเป็นศูนย์

Aug
24

แยก แลก ของ EP.2

At 4:23 am
By natpapat.pro

สถานีถุงผ้า

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชนท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทั้งปัญหาไฟป่า ปัญหาฝุ่นควัน ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะผลงานจากฝีมือของมนุษย์ด้วยกันเอง ที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างมากทั้งต่อสังคมไทยและสังคมโลกตลอดเวลาที่ผ่านมามหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการต่างๆมากมาย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมรณรงค์และสร้างความตระหนักในด้านการจัดการขยะ เช่น โครงการรณรงค์การแยกขยะ โครงการรณรงค์การใช้แก้วและภาชนะใส่อาหารแทนการใช้โฟม แก้วพลาสติกและถุงพลาสติก ให้แก่บุคลากรตลอดจนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีทุกคน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าหน้าที่หนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาไม่เพียงสร้างองค์ความรู้ด้านวิชาการอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องสร้างและปลูกจิตสำนึกสาธารณะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความรับผิดชอบ  ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่จะผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้ชุมชนท้องถิ่น ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ที่ผ่านมา โครงการสถานีถุงผ้า มรส.ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งภายในมหาวิทยาลัยได้จัดจุดสถานีถุงผ้า มรส.เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ร่วมกับบริจาคถุงผ้า และนำถุงผ้าไปแบ่งปันกันใช้ตามจุดสำคัญของมหาวิทยาลัย เช่น ตามร้านค้าสะดวกซื้อ ตลาดนัด โรงอาหารและอาคารเรียนต่างๆทั่วทั้งมหาวิทยาลัย โดยชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษา ดูแลและรับผิดชอบ

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานียังได้ร่วมกับศูนย์การค้าเซ็นทรัลสุราษฎร์ธานี จัดจุดรับบริจาคสถานีถุงผ้า มรส.ภายในบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัลสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ทั้งการบริจาคถุงผ้าและร่วมนำถุงผ้าไปใช้เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดจากถุงพลาสติกอีกด้วย

โครงการฝึกอบรมส่งเสริมการพัฒนาหน่วยงานภายในมหาวิทยาลับราชภัฏสุราษฎร์ธานีสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) และกิจกรรมฝึกอบรมการคัดแยกขยะรีไซเคิลและแนะนำการใช้แอปพลิเคชัน Trash Luckyโดยกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ บุคลากรประจำคณะ สำนัก และสถาบัน และนักศึกษามหาวิทยาลัยฯ นักศึกษาหอพัก ชมรมฯ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งได้รับความสนใจจากทุกท่านเป็นอย่างมาก โดยได้รับเกียรติ จากวิทยากรบริษัทไบร์ท แมเนจเม้นท์ฯ และสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อบรมให้ความรู้ ซึ่งจุดประสงค์ของโครงการอยากให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถรู้จักประเภทของขยะ และรู้จักขยะแต่ละชนิด เพื่อสามารถคัดแยกขยะได้จริงในการปฏิบัติงานภายในองค์กร

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีนโยบายขับเคลื่อนองค์กร มุ่งสู่การเป็น GreenUniversity เน้นการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก คัดเเยกขยะ ใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากนโยบายสู่การลงมือปฏิบัติ วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว ได้เริ่มโครงการ Zero Waste Station & Farm to table เป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกับหลายหน่วยงานของภาครัฐเเละเอกชนได้แก่ “เซ็นทรัล รีเทล” เทศบาลนครเกาะสมุย โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม และภาคีเครือข่าย ร่วมกันแก้ปัญหาขยะอินทรีย์ โดยขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ขยะอินทรีย์ จาก แฟมิลี่มาร์ท ท็อปส์ ซูเปอร์มาเก็ต โรงแรมเซ็นทารา และ เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย จะถูกลำเลียงไปยังสถานที่ 2 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดละไม และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรรูปผ่านเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ (Cowtec) ที่ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครเกาะสมุย

สิ่งที่ได้จากการแปรรูป คือ ก๊าซชีวภาพ และ ปุ๋ยหมัก
ก๊าซชีวภาพ ถูกแปรเปลี่ยนเป็นก๊าซหุงต้ม เพื่อใช้ในครัวโรงเรียนของรงเรียนเทศบาล 1 วัดละไม และใช้เพื่อการเรียนการสอนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ปุ๋ยหมัก ถูกลำเลียงมาใช้ในการเกษตร จนได้ผลผลิตอินทรีย์ที่ปลูกโดยคนในชุมชน และในอนาคตเราจะร่วมกับชุมชนนำปุ๋ยหมักทั้งแบบอัดเม็ดและแบบน้ำ พร้อมผลผลิตอินทรีย์ที่ได้จากโครงการนี้มาวางจำหน่ายที่ร้านค้าและศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัลด้วย

ความสำเร็จของโครงการนี้เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือของทุกคน และเราเชื่อว่าหากชาวสมุยยังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมกันจัดการขยะให้ถูกต้องแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เป้าหมายที่สมุยจะเป็นเมือง Zero Waste ก็คงไม่ใช่เรื่องยากในอนาคต

Involvement and activities

มรส.ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์การลด เลิก (Single – use Plastic) สร้างความตื่นตัว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในมหาวิทยาลัย

มรส. ลงนามประกาศเจตนารมณ์การลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single – use Plastic) ภายในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single – use Plastic) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความตื่นตัว สร้างความรู้ความเข้าใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัย จำนวน 59 แห่ง ผ่านพลังเยาวชน Green Youth ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero

จากความสำเร็จของความร่วมมือระหว่าง แฟมิลี่มาร์ท เทศบาลนครเกาะสมุย และโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม ในการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทุกวันพนักงานแฟมิลี่มาร์ทจะทำการแยกขยะอาหารที่หมดอายุ ออกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก และนำขยะอินทรีย์เหล่านั้น ส่งต่อไปยังโรงเรียนเพื่อแปรรูปผ่านเครื่อง COWTEC เป็นแก็สหุงต้ม อาหารสัตว์ และปุ๋ย เพื่อใช้ในการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งโรงเรียนสามารถลดค่าแก๊สหุงต้มได้มากถึง 5000 บาทต่อเทอม ชุมชนมีปุ๋ยเพื่อปลูกผักและเป็นอาหารสัตว์ จนได้ผลผลิตอินทรีย์คุณภาพดี ทั้ง ผัก ผลไม้ และไข่ไก่ หมุนเวียนกลับมาเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
นอกจากนี้ “เซ็นทรัล รีเทล” ยังได้ต่อยอดความสำเร็จเพื่อพัฒนาสมุยให้เป็นเมืองต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ (Cowtec) โดยจะมีการคัดแยกขยะอินทรีย์จาก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย แฟมิลี่มาร์ท และ โรงแรมเซ็นทารา นำไปส่งต่อยังวิทยาลัยฯ เพื่อแปรรูปเป็นแก๊สหุงต้มให้น้องๆ นักศึกษาได้ใช้ในการเรียนรู้ด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการแปรรูปจะถูกนำไปใช้ในโครงการ Farm to table , Organic Café แปลงเกษตรสาธิต ที่จะเป็นต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชน และในอนาคตผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้จะถูกนำไปจำหน่ายที่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้าในเครือกลุ่มเซ็นทรัลด้วย
นอกจากนี้ “เซ็นทรัล รีเทล” ยังได้ต่อยอดความสำเร็จเพื่อพัฒนาสมุยให้เป็นเมืองต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ (Cowtec) โดยจะมีการคัดแยกขยะอินทรีย์จาก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย แฟมิลี่มาร์ท และ โรงแรมเซ็นทารา นำไปส่งต่อยังวิทยาลัยฯ เพื่อแปรรูปเป็นแก๊สหุงต้มให้น้องๆ นักศึกษาได้ใช้ในการเรียนรู้ด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการแปรรูปจะถูกนำไปใช้ในโครงการ Farm to table , Organic Café แปลงเกษตรสาธิต ที่จะเป็นต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชน และในอนาคตผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้จะถูกนำไปจำหน่ายที่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้าในเครือกลุ่มเซ็นทรัลด้วย

นอกจากนี้ “เซ็นทรัล รีเทล” ยังได้ต่อยอดความสำเร็จเพื่อพัฒนาสมุยให้เป็นเมืองต้นแบบด้านการจัดการขยะ โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ติดตั้งเครื่องผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ (Cowtec) โดยจะมีการคัดแยกขยะอินทรีย์จาก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย แฟมิลี่มาร์ท และ โรงแรมเซ็นทารา นำไปส่งต่อยังวิทยาลัยฯ เพื่อแปรรูปเป็นแก๊สหุงต้มให้น้องๆ นักศึกษาได้ใช้ในการเรียนรู้ด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการแปรรูปจะถูกนำไปใช้ในโครงการ Farm to table , Organic Café แปลงเกษตรสาธิต ที่จะเป็นต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชน และในอนาคตผลผลิตที่ได้จากโครงการนี้จะถูกนำไปจำหน่ายที่ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้าในเครือกลุ่มเซ็นทรัลด้วย

คาร์กิลล์ – UNDP- มรภ.สุราษฎร์ธานี จัดทำโครงการ “SeaShine” ลดขยะทิ้งลงทะเล สร้างรายได้ให้ชุมชน

คาร์กิลล์ ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมอาหารและเกษตรกรรมของโลก ร่วมกับ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program : UNDP) และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เปิดตัวโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม “SeaShine” เพื่อลดปริมาณขยะเปียกและขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล พร้อมทั้งสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้ชุมชนชายฝั่งทะเลภาคใต้ของไทย

โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2565 โดยคาร์กิลล์ UNDP และ มรภ.สุราษฎร์ธานี จะร่วมกันสร้างระบบนิเวศเพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้ชุมชนจัดเก็บและคัดแยกขยะ รวมทั้งถุงอาหารสัตว์เพื่อนำมาแลกประโยชน์ที่ส่งเสริมความยั่งยืนต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหาขยะในพื้นที่ชุมชนรอบ ๆ มรภ.สุราษฏร์ธานี ที่มีปริมาณมากถึง 63 ตันต่อเดือน และเป็นปัญหาใหญ่ที่มหาวิทยาลัยและชุมชนประสบมานาน โดยโครงการฯ จะจัดสร้างสถานีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal Station) หรือสถานี SDG บนพื้นที่ 3 ไร่ภายในมหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ จะมีการสอนให้ประชาชนในชุมชนรอบ ๆ ได้รู้จักคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำมาขายให้แก่สถานี SDG เพื่อนำไปรีไซเคิลต่อไป

โครงการฯ นี้จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะมีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่จากการขายขยะ ตลอดจนลดปริมาณขยะที่อาจถูกทิ้งลงไปในทะเล ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยและนักศึกษาจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะจากประสบการณ์จริงได้อีกด้วย

มาร์โก เดอ นาราย กรรมการผู้จัดการ คาร์กิลล์ โภชนาการอาหารสัตว์น้ำ ประเทศไทยและเวียดนาม กล่าวว่า คาร์กิลล์มีส่วนร่วมในการสร้างความแข็งแกร่งและพัฒนาชุมชนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานาน ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของเราและประเทศไทยมีความแน่นแฟ้นมากขึ้นทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกโดยเฉพาะความร่วมมือในการจัดการความท้าทายยิ่งใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของคาร์กิลล์ที่จะสร้างพันธมิตรและร่วมมือในการกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ทะเล และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ที่จะส่งเสริมความสมบูรณ์ของโลกอย่างปลอดภัย ด้วยความรับผิดชอบ และแนวทางที่นำไปสู่ความยั่งยืน

ในช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อ COVID-19 ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจากมาตรการล็อคดาวน์ทั่วประเทศ และการทำงานที่บ้าน สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นที่ตั้งของ มรภ.สุราษฎร์ธานี คาดว่าปริมาณขยะที่จะต้องถูกฝังกลบในพื้นที่ใกล้เคียงจะมีมากถึง 426 ตันในปี พ.ศ.2564 นี้

ด้านเรอโนด์ เมแยร์ ผู้แทนยูเอ็นดีพีประจำประเทศไทย กล่าวว่า ยูเอ็นดีพียินดีที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับคาร์กิลล์ในการดำเนินโครงการสำคัญซึ่งเป็นนวัตกรรมในการกำจัดขยะเช่นนี้ การลดปริมาณขยะพลาสติกและขยะเปียกจะช่วยให้ชุมชนชายฝั่งทะเลมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในระยะยาว โครงการนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDG ภายในท้องถิ่นได้ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ในการดำเนินโครงการดังกล่าว หน่วยงานด้าน SDG และนักศึกษาอาสาสมัครจะทำงานร่วมกันในการพัฒนาระบบไอทีเพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับขยะของคนในชุมชนเป็นรายคน ก่อนจะนำข้อมูลนั้นมาแปลงเป็นประโยชน์ที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก และปริมาณขยะที่นำมารีไซเคิล เป็นต้น และแสดงผลข้อมูลบนแดชบอร์ด ซึ่งเปิดให้ทุกคนได้เห็น และติดตามความคืบหน้าของโครงการได้โดยสะดวก